การทำพื้นหลังเป็นรูปภาพนั้นเป็นรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการเขียนเว็บไซต์ให้ดูสวยงาม มีลูกเล่น สำหรับบทความนี้จะมาแนะนำวิธีทำพื้นหลังเป็นรูปภาพบนเว็บไซต์กันครับ ++
การทำพื้นหลังเป็นรูปภาพนั้นสามารถทำได้หลายแบบ ในบทความนี้ขอแนะนำ 3 แบบที่ใช้งานบ่อย ๆ
แบบที่ 1 BODY
body { background: url('image/bg.jpg') no-repeat center center fixed;
-webkit-background-size: cover;
-moz-background-size: cover;
-o-background-size: cover;
background-size: cover;
}/* or */body {
background: url('image/bg.jpg') no-repeat center center;
-webkit-background-size: 100% 100%;
-moz-background-size: 100% 100%;
-o-background-size: 100% 100%;
background-size: 100% 100%;
}
แบบที่ 2 DIV
// HTML
<div class="bg">
...
</div>// CSS
.bg {
background-image: url('image/bg.jpg');
background-repeat: no-repeat;
background-attachment: fixed;
background-position: top center;
background-size: cover; /* or 100% 100% */
height: 100vh;
}
แบบที่ 3 IMG
// HTML
<img class="bg" src="images/bg.jpg" alt="">// CSS
.bg {
position: fixed;
top: 0;
left: 0;
/* Preserve aspet ratio */
min-width: 100%;
min-height: 100%;
}
ความแตกต่างระหว่าง background-size: cover กับ background-size: 100% 100% คือการแสดงผลของรูปภาพตาม viewport แบบ cover จะได้รูปแบบที่สมดุล ในขณะที่ 100% 100% จะได้ขนาดรูปภาพที่บีบตามขนาดของ viewport (แนะนำให้เปลี่ยนรูป background ตามขนาดหน้าจอหลัก desktop และ mobile)
background properties:
สามารถเขียนคุณสมบัติต่างๆ ได้ในคำสั่งเดียว
แบบย่อ
background: url(image/bg.jpg) no-repeat center center fixed;
แบบเต็ม
background-image: url(image/bg.jpg);
background-repeat: no-repeat;
background-position: center center;
background-attachment: fixed;
เพื่อนๆ สามารถนำไปลองเล่นกันดูได้น่ะครับ สำหรับบทความนี้ก็หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยน่ะครับ :)